คำอธิบายรายวิชา
รายวิชาศิลปะพื้นฐาน (ดนตรีไทย) ศ๒๑๑๐๑ สาระการเรียนรู้พื้นฐาน ภาคเรียนที่ ๑
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ เวลาเรียน ๒๐ ชั่วโมง จำนวนหน่วยกิต ๐.๕ หน่วยกิต / ภาคเรียน
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ศึกษาเปรียบเทียบวิเคราะห์ รูปแบบ ประเภท ของเพลง ดนตรี ทั้งดนตรีไทย ดนตรี อภิปรายเหตุผลที่คนต่างวัฒนธรรม สร้างสรรค์งานดนตรีแตกต่างกัน วิเคราะห์ดนตรีแต่ละยุคสมัย ลักษณะเด่นของดนตรีและวัฒนธรรมต่างๆ
ฝึกปฏิบัติ อ่าน เขียน โน้ตดนตรีไทยและสากล ในอัตราจังหวะต่างๆ
เห็นคุณค่าของดนตรีไทยและสากล นำความรู้ทางดนตรี ไปใช้ประโยชน์ ในชีวิตประจำวัน มีเจตคติที่ดี คุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่เหมาะสม
ตัวชี้วัด
ศ ๒.๑ ม.๔-๖ , ๑/๑ – ๔
ศ ๒.๒ ม.๔-๖ , ๑/๑ – ๓
ผลการเรียนรู้
๑. เปรียบเทียบรูปแบบของบทเพลงและวงดนตรีแต่ละประเภท
๒. จำแนกประเภทและรูปแบบของวงดนตรีทั้งไทยและสากล
๓. อธิบายเหตุผลที่คนต่างวัฒนธรรมสร้างสรรค์งานทางดนตรีแตกต่างกัน
๔. อ่าน เขียน โน้ตดนตรีไทยและสากลในอัตราจังหวะต่างๆ
๕. วิเคราะห์รูปแบบของดนตรีไทยและดนตรีสากลในยุคสมัยต่างๆ
๖. วิเคราะห์สถานะ ทางสังคมของนักดนตรีในวัฒนธรรมต่างๆ
๗. เปรียบเทียบลักษณะเด่นของดนตรีในวัฒนธรรมต่างๆ
๘. นำความรู้ทางดนตรีของการสร้างสรรค์ดนตรี ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
- อาจารย์: นายศิริปัญญา สะเดา ครูโรงเรียนนางรอง
ศึกษา วิเคราะห์ อธิบาย เกี่ยวกับการใช้ทัศนธาตุและหลักการออกแบบในการสื่อความหมายในรูปแบบต่างๆ จุดประสงค์และเนื้อหาของงานทัศนศิลป์ โดยใช้ศัพท์ทางทัศนศิลป์ วิเคราะห์และเปรียบเทียบงานทัศนศิลป์ในรูปแบบตะวันออกและรูปแบบตะวันตก โดยใช้กระบวนการอธิปรายเพื่อสรุปความรู้เกี่ยวกับอิทธิพลของวัฒนธรรมระหว่างประเทศที่มีผลต่องานทัศนศิลป์ในสังคม วิเคราะห์การเลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์ และเทคนิคของศิลปินไทย สากล โดยศึกษาจากแนวความคิดและวิธีการสร้างงานของศิลปินที่ตนชื่นชอบ และสามารถระบุงานทัศนศิลป์ของศิลปินที่มีชื่อเสียงและบรรยายผลตอบรับของสังคม มีทักษะและเทคนิคในการใช้วัสดุ อุปกรณ์ และกระบวนการที่สูงขึ้นในการสร้างงานทัศนศิลป์ สามารถสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ด้วยเทคโนโลยีต่างๆ โดยเน้นหลักการออกแบบและจัดองค์ประกอบศิลป์ ออกแบบงานทัศนศิลป์ได้เหมาะสมกับโอกาสและสถานที่ ปฏิบัติการวาดภาพระบายสีเป็นภาพล้อเลียนหรือภาพการ์ตูน โดยใช้กระบวนเรียนรู้แบบบูรณการ เพื่อแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพสังคมในปัจจุบัน โดยประเมินและวิจารณ์งานทัศนศิลป์ โดยใช้ทฤษฎีการวิจารณ์ศิลปะ และจัดกลุ่มงานทัศนศิลป์ เพื่อสะท้อนพัฒนาการและความก้าวหน้าของตนเอง เพื่อให้เห็นคุณค่าและสามารถสร้างงานทัศนศิลป์อย่างสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์ วิจารณ์คุณค่างานทัศนศิลป์อย่างชื่นชม และนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
![](https://classroom.nangrong.ac.th/pluginfile.php/4108/course/overviewfiles/74177525_2549133201833309_6698572999345307648_n.jpg)
คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน
รายวิชา ทัศนศิลป์
รหัสวิชา ศ ๓๓๑๐๑ กลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลปะ
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ เวลา ๒๐ ชั่วโมง จำนวน ๐.๕ หน่วยกิต
-----------------------------------------------------------------------------------------
ศึกษา วิเคราะห์การใช้ทัศนธาตุ องค์ประกอบศิลป์ หลักการออกแบบ การเลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์เทคนิค วิธีการสร้างงานของศิลปินในการสื่อความหมายในรูปแบบต่างๆ และกระบวนการสร้างงานทางทัศนศิลป์ที่สูงขึ้น อธิบายจุดมุ่งหมายของศิลปินในการเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ เทคนิค และเนื้อหาเพื่อสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ วิเคราะห์และเปรียบเทียบงานทัศนศิลป์ในรูปแบบตะวันออกและรูปแบบตะวันตก อภิปรายเกี่ยวกับอิทธิพลของวัฒนธรรมระหว่างประเทศที่มีผลต่องานทัศนศิลป์ในสังคมประเมินและวิจารณ์งานทัศนศิลป์โดยใช้ทฤษฎีการวิจารณ์ศิลปะ บรรยายจุดประสงค์และเนื้อหาของงานทัศนศิลป์โดยใช้ศัพท์ทางทัศนศิลป์ ระบุงานทัศนศิลป์ของศิลปินที่มีชื่อเสียงและผลตอบรับของสังคม สร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ด้วยเทคโนโลยีต่างๆ โดยเน้นหลักการออกแบบและการจัดองค์ประกอบศิลป์ สร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ไทยและสากลโดยศึกษาแนวคิด และวิธีการสร้างงานของศิลปินที่ตนชื่นชอบ ออกแบบงานทัศนศิลป์ได้เหมาะกับโอกาสและสถานที่ จัดกลุ่มงานทัศนศิลป์เพื่อสะท้อนพัฒนาการและความก้าวหน้าของตนเอง วาดภาพระบายสีเป็นภาพล้อเลียนหรือภาพการ์ตูนเพื่อแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพสังคมในปัจจุบัน
โดยใช้ทักษะกระบวนการคิด ทักษะกระบวนการแก้ปัญหา ทักษะกระบวนการใช้ชีวิต ทักษะกระบวนการสื่อสาร และทักษะกระบวนการใช้เทคโนโลยี เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจ กล้าคิด กล้าแสดงออกทางทัศนศิลป์อย่างสร้างสรรค์ เห็นคุณค่า ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ อยู่อย่างพอเพียง มุ่งมั่นในการทำงาน รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ รักความเป็นไทย มีจิตสาธารณะ และสามารถประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
รหัสตัวชี้วัด
ศ๑.๑ม.๔-๖/๑,๒,๓,๔,๕,๖,๗,๘,๙,๑๐,๑๑
ศ๑.๒ม.๔-๖/๑,๒,๓
รวมทั้งหมด ๑๔ ตัวชี้วัด
![](https://classroom.nangrong.ac.th/pluginfile.php/4028/course/overviewfiles/310665.jpg)