คำอธิบายรายวิชาพื้นฐานศิลปะ
(ดนตรีไทย) รหัสวิชา
(ศ ๒๒๑๐๑)
ดนตรีไทยเป็นสมบัติของชนชาติไทย ที่คนไทยทุกคนมีความภาคภูมิใจต่อความไพเราะ ความมีระบบระเบียบ และความมีเอกลักษณ์โดดเด่น จึงสมควรที่จะได้รับการถ่ายทอดเป็นมรดกสืบต่อไปยังอนุชนรุ่นหลัง การให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับประวัติดนตรีไทย ทฤษฎีดนตรีไทย เครื่องดนตรีและวงดนตรีไทย หลักการฟังและวิเคราะห์เพลงไทย และหลักการขับร้องเพลงไทย เป็นหนทางหนึ่งที่จะช่วยสืบสานศิลปวัฒนธรรมทางด้านดนตรีของชาติไทยให้ดำรงอยู่สืบไป
ผลการเรียนรู้
๑. อ่าน เขียน ร้อง โน้ตไทยและโน้ตสากล
๒. เปรียบเทียบเสียงร้องและเสียงของเครื่องดนตรีที่มาจากวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน
๓. ร้องเพลงและใช้เครื่องดนตรีบรรเลงประกอบการร้องเพลงด้วยบทเพลงที่หลากหลายรูปแบบ
๔. จัดประเภทของวงดนตรีไทยและวงดนตรีที่มาจากวัฒนธรรมต่างๆ
๕. แสดงความคิดเห็นที่มีต่ออารมณ์ของบทเพลงที่มีความเร็วของจังหวะและความดัง เบา ต่างๆกัน
๖. เปรียบเทียบอารมณ์ความรู้สึกในการฟังดนตรีแต่ละประเภท
๗. นำเสนอตัวอย่างเพลงที่ตนเองชื่นชอบและอภิปรายลักษณะเด่นที่ทำให้งานนั้นน่าชื่นชม
๘. ใช้เกณฑ์สำหรับประเมินคุณภาพงานดนตรีหรือเพลงที่ฟัง
๙. ใช้และบำรุงรักษาเครื่องดนตรีอย่างระมัดระวังและรับผิดชอบ
๑๐. อธิบายบทบาทความสัมพันธ์และอิทธิพลของดนตรีที่มีต่อสังคมไทย
๑๑. ระบุความหลากหลายขององค์ประกอบดนตรีในวัฒนธรรมต่างกัน
- อาจารย์: คุณครูเขมนันท์ พูนมั่น
ดนตรีไทยเป็นสมบัติของชนชาติไทย
ที่คนไทยทุกคนมีความภาคภูมิใจต่อความไพเราะ ความมีระบบระเบียบ
และความมีเอกลักษณ์โดดเด่น
จึงสมควรที่จะได้รับการถ่ายทอดเป็นมรดกสืบต่อไปยังอนุชนรุ่นหลัง
การให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับประวัติดนตรีไทย ทฤษฎีดนตรีไทย
เครื่องดนตรีและวงดนตรีไทย หลักการฟังและวิเคราะห์เพลงไทย และหลักการขับร้องเพลงไทย
เป็นหนทางหนึ่งที่จะช่วยสืบสานศิลปวัฒนธรรมทางด้านดนตรีของชาติไทยให้ดำรงอยู่สืบไป
- อาจารย์: นางจริยาพร กุลไธสง ครูโรงเรียนนางรอง
รายวิชาศิลปะพื้นฐาน (ดนตรีไทย) สำหรับนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
- อาจารย์: นายศิริปัญญา สะเดา ครูโรงเรียนนางรอง